Posted on

หอคำ

พระราชวังของกษัตริย์ หรือเรียกว่า “หอคำ” ตามแบบอย่างพื้นเมืองล้านนา ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันเป็นหอคำที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เครื่องประดับสถาปัตยกรรมแตกต่างไปจากบ้านเรือนทั่วไป คือ เครื่องลำยอง ประดับปั้นลมหลังคา กรอบประตูหน้าต่าง และทวยนาคตันไม้แกะสลักลายอย่างประณีต รับกับฝาตาผ้าและลูกกรงไม้กลึงในช่องหน้าต่าง และประดับรูปนกยูง เป็นสัญลักษณ์สำหรับกษัตริย์ หอคำของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๖ ต่อมาภายหลังพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ทรงให้รื้อไปดัดแปลงเป็นวิหารวัดแสนฝาง ปัจจุบันคือวิหารลายคำ ตกแต่งด้วยฝีมือสกุลช่างเชียงใหม่ หอคำนครลำปาง (จำลอง) ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ จำลองจากหอคำของเจ้าผู้ครองนครลำปางในอดีตซึ่งถูกรื้อทิ้งไป โดยสร้างขึ้นจากภาพถ่าย ประกอบคำบอกเล่าของผู้ที่เคยพบเห็น ที่มา: หนังสือสถาปัตยกรรมล้านนา ภาพถ่าย: วีระพล สิงห์น้อย / รุ่งกิจ เจริญวัฒน์ / สถาปนิก 49

Posted on

การตกแต่งพื้นผิวอาคารเสนาสนะ

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมประเภทอาคารเสนาสนะที่มีพื้นผิวเรียบและมองเห็นได้ชัด ได้แก่ หน้าบัน โครงหลังคา เสา ผนัง รวมไปถึงประตู หน้าต่าง หรือฝ้าเพดาน มักตกแต่งพื้นผิวเป็นลวดลายด้วยงานปิดทองแบบต่างๆ ทั้งลายบนผิวเรียบที่เรียกว่า “ลายคำ” ที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยปรากฏในงานสถาปัตยกรรมล้านนาตั้งแต่ช่วงยุคทอง เป็นวิธีการติดแผ่นทองคำเปลวลงในลายฉลุของแม่พิมพ์ลงบนพื้นผิวที่ทาสีแดงหรือสีดำ อาจมีการเขียนเส้นตัดขอบด้วย หรือมีการใช้เหล็กจารขูดเป็นลวดลายภายในบริเวณลายสีทอง เรียกว่า “ฮายลาย” และแบบลายนูน ๓ มิติ ด้วยการติดไม้ฉลุลายทับบนพืนเรียบด้านหลัง เรียกว่า “ปิดทองลายฉลุ” ซึ่งอาจมีการลงสีพื้นหลัง หรือประดับกระจกสีแผ่นบางบนลวดลาย หรือการขุดร่องลึกลงไปจากพื้นผิว เรียกว่า “ปิดทองร่องชาด” และนิยมงานประดับกระจกสีมากขึ้น มีทั้งที่ใช้ “กระจกเกรียบ” หรือกระจกสีที่ดาดลงบนแผ่นดีบุก แบบโบราณและ “กระจกแก้ว” พบได้ในสมัยหลัง ที่มักจะผสมกับการปิดทอง ได้แก่ แบบ “ปิดทองร่องกระจก” มีลักษณะเป็นลายปิดทองนูนต่ำ พื้นหลังขุดร่องประดับกระจกสี และ “ประดับกระจกลายยา” ซึ่งมีลักษณะตัวลายขุดร่องประดับกระจกสี ส่วนพื้นหลังปิดทองทึบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเทคนิค “สะตายจีน” คืองานปูนปั้นน้ำมันแบบจีน โดยใช้ปูนขาวผสมน้ำมันตั้งอิ้วที่สกัดจากต้นทั่ง ลวดลายส่วนใหญ่ยังคงยึดถือแบบแผนดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากยุคทอง เช่น ลายแม่แบบต่างๆ […]

Posted on

ทวยนาคตัน

ส่วนไม้ค้ำยันแบบหูช้างติดตั้งยื่นจากหัวเสาเพื่อรับชายคากันสาดตลอดแนวสองข้างอาคาร ในยุคทองของอาณาจักรล้านนานิยมสลักลายพญาลวง รูปคล้ายพญานาคหรือมังกรมีเขาและมีปีก ประกอบลายฉลุและขอบบน – ล่าง หลังช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนาจึงมีการทำลวดลายเป็นรูปสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะสัตว์หิมพานต์ชนิดต่างๆ รวมทั้งลายนาคเกี้ยว เทวดา หรือผสมผสานสัตว์หิมพานต์กับลายแม่แบบอื่นๆ เช่น ลายกระหนกและลายเมฆไหล สิ่งที่น่าสนใจคือลายประดับในองค์ประกอบที่ติดตั้งเรียงรายซ้ำๆ ในวิหารหรืออุโบสถหลายแห่งในล้านนา มักจะแกะสลักลวดลายไม่ซ้ำแบบในอาคารเดียวกัน ตามแต่จินตนาการของช่างผู้สร้างสรรค์ ที่มา: หนังสือสถาปัตยกรรมล้านนา ภาพถ่าย: วีระพล สิงห์น้อย / รุ่งกิจ เจริญวัฒน์ / สถาปนิก 49

Posted on

เครื่องบนประดับอาคารเสนาสนะ

อาคารสำคัญต่างๆ ภายในวัด อาทิ วิหาร อุโบสถ หอธรรม ส่วนหนึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนาในยุคทอง หรือบางแห่งอาจเก่าถึงสมัยอาณาจักรหริภุญไชย ก็ล้วนแต่ได้รับการบูรณะภายหลังอีกหลายครั้ง เนื่องจากสร้างด้วยไม้เป็นวัสดุหลักจึงชำรุดทรุดโทรมไปเร็วกว่าอาคารก่ออิฐถือปูนที่สร้างใหม่ในสมัยหลัง อาคารสำคัญในวัดตามแบบอย่างพื้นเมืองล้านนาในยุคทองมีการประดับตกแต่งเป็นพิเศษในส่วนต่างๆ ของหลังคา และพื้นผิวขององค์ประกอบหลักภายในอาคาร เครื่องประดับหลังคาอาคารเสนาสนะ ช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนา หลังคาอาคารสำคัญในวัดประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนตามแนวสันหลังคา เครื่องลำยอง แผงแล ปากแล ประดับปลายปั้นลมหลังคา หน้าบัน ที่มีการตกแต่งลวดลาย รวมถึงทวยนาคตันที่คํ้ายันชายคาตลอดแนวอาคารทั้งสองข้าง เครื่องประดับเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ไม้แกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม เครื่องประดับหลังคาอาคารเสนาสนะ ช่วงหลังยุคทองของอาณาจักรล้านนา เครื่องประดับตกแต่งหลังคาของอาคารเสนาสนะที่สืบทอดแบบอย่างพื้นเมืองล้านนาต่อมา ได้รับอิทธิพลจากทั้งศิลปะแหล่งต่างๆ อาทิ รัตนโกสินทร์ พม่า มอญ ไทยใหญ่ จีน หรือแม้กระทั่งตะวันตก เข้ามาผสมสานในรายละเอียด โดยเฉพาะลวดลายและเทคนิค รวมทั้งส่วนโก่งคิ้วใต้หน้าบัน ที่ตกแต่งให้โดดเด่นมากขึ้นด้วยรูปแบบและลวดลายที่หลากหลาย เครื่องบนประดับสันหลังคา ปราสาทเฟื้อง ส่วนประดับกลางสันหลังคา วิหาร และอุโบสถ เพื่อจำลองเขาพระสุเมรุตามคติจักรวาล มีรูปแบบและขนาดสัดส่วนต่างๆ กันตามแต่ฝีมือช่าง บางแห่งอาจมีรูปหงส์เต็มตัวขนาดเล็กเรียงกันตลอดแนวสันหลังคาด้วย ช่อฟ้า ส่วนประดับปลายสันหลังคา และเป็นส่วนยอดของเครื่องลำยองประดับปั้นลมหน้าจั่ว ช่อฟ้าแบบล้านนาดั้งเดิมมีลักษณะตั้งตรง โดยมีลวดลายไม้ฉลุในกรอบสามเหลี่ยมประกอบอยู่ให้มั่นคงกับสันหลังคาคล้ายปราสาทเฟื้องครึ่งซีก แต่หากไม่มีปราสาทเฟื้องและช่อฟ้ารูปแบบอื่น เช่น […]

Posted on

ซุ้มโขงและทวารบาล

ในช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนาเป็นต้นมา นอกจากเจดีย์แล้ว มีองค์ประกอบเน้นทางเข้าหลักเข้าสู่เขตศาสนสถาน และอาคารเสนาสนะ เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญที่สร้างด้วยวัสดุก่ออิฐถือปูน ได้แก่ ซุ้มโขง ซึ่งนอกจากประดับเจดีย์แล้ว ยังสร้างเป็นซุ้มประตูทางเข้าเขตพุทธาวาส กรอบประตูวิหาร และประดับกู่มณฑป ภายในวิหารด้วย โดยพัฒนามาใช้ลายพรรณพฤกษาแบบฉลุโปร่ง และรูปสัตว์หิมพานต์ รวมถึงลาย “นาคเกี้ยว” ลักษณะเป็นรูปนาค ๒ ตัว มีหางเกี่ยวกันเป็นกรอบซุ้ม ภายในช่องโค้งเหนือทางเข้าอาจประดับด้วยงานลายคำ เช่น ธรรมจักรและปูรณฆฏะ นอกจากนี้ มีการเน้นทางเข้าสำคัญด้วยประติมากรรมลอยตัวปูนปั้นรูปสัตว์ที่มีความหมายตามแนวความคิดจักรวาลคติ หรือการเฝ้ารักษาศาสนสถาน เช่น รูปสิงห์คู่ขนาบสองข้างทางเข้าเขตพุทธาวาส ตั้งอยู่ด้านหน้าซุ้มโขงอีกชั้นหนึ่ง และบันไดนาคที่ขึ้นสู่สถาปัตยกรรมสำคัญ เช่น เจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอธรรม ที่นอกจากประดับรูปนาคหรือมกรคายนาคแล้ว บางแห่งอาจประดับด้วยรูปมอม และมีการประดับด้วยรูปเทวดาปูนปั้นหรือไม้แกะสลักในส่วนต่างๆ เช่น เป็นปากแลตั้งระหว่างเครื่องลำยองปิดปั้นลมต่างระดับ ประตูบานคู่ด้านหน้าวิหาร บริเวณเสาหรือมุมผนังอาคารด้านนอก หรือบนโครงหลังคาในระดับไม้คอสอง ในช่วงหลังยุคทองของอาณาจักรล้านนา มีการทำซุ้มโขง สิงห์คู่ บันไดนาค และรูปเทวดา โดยมีรูปทรง สัดส่วนการประดับตกแต่ง ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะบันไดนาค ซึ่งเลื้อยลำตัวลงมาขดเป็นวงอยู่บนพื้นด้านหน้าบันไดสองข้าง หรือมีส่วนหางปรากฏอยู่ทางบันไดด้านหลัง ที่มา: […]

Posted on

H-INTERVIEW: Designing your life during COVID-19 – อัชฌานาท เกษพยัคฆ์

“เซอร์ไพรซ์เหมือนกันเพราะติดต่อเข้ามากันเยอะทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่า มันสะท้อนมาจากการที่เขาอยู่บ้านช่วงโควิด-19 แล้วค้นพบว่าสเปซที่ใช้งานมันอาจจะยังขาดอะไรอยู่บ้างหรือต้องรับมือกับการทำงานผ่านทาง online มากขึ้น ต้องการห้องทำงานที่เหมาะสมมากขึ้น สะดวกสบายขึ้น” “ปกติค่อนข้างหมดเวลาไปทั้งวันกับงานที่ทำ สิ่งที่ไม่ได้ทำเลยคือเรื่องของการออกกำลังกาย จนโควิด-19 ทำให้เราได้อยู่บ้าน ก็เอาเวลาเดินทางมาเริ่มวิ่งออกกำลังกาย ได้ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น เล่นกับลูก ทำขนมกับลูก ลูกก็แฮปปี้เพราะเราอยู่กับเขามากขึ้น แม้กระทั่งเวลาเราทำงาน เรา Zoom ไปประชุมไป เขาก็นั่งอยู่ข้างๆ ทำงานหรือเล่นของเขาไป พอเสร็จก็ได้พูดคุยกัน ทานข้าวด้วยกันบ่อยขึ้น ออฟฟิศของเราทำงานออกแบบบ้านอย่างเดียวเป็นหลัก ช่วงโควิด-19 ก็เป็นเซอร์ไพรส์เหมือนกันเพราะติดต่อเข้ามากันเยอะทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่า มันสะท้อนมาจากการที่เขาอยู่บ้านช่วงโควิด-19 แล้วค้นพบว่าสเปซที่ใช้งานมันอาจจะยังขาดอะไรอยู่บ้าง หรือต้องรับมือกับการทำงานผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ต้องการห้องทำงานที่เหมาะสมมากขึ้น สะดวกสบายขึ้น เหมือนเราทำงานที่บ้านเราก็ต้องมีพวกเอกสารจากออฟฟิศตามกลับมาเก็บไว้ที่บ้านบ้าง เพราะฉะนั้นพวกพื้นที่จัดเก็บมันก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวก็จะนึกถึง USM USM เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่รู้จักมาตั้งแต่เริ่มทำงาน มันเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่คลาสสิก เพราะมันสามารถอยู่ได้กับหลายๆ สเปซ ภาพของ USM เป็นเฟอร์นิเจอร์เหล็ก ในสมัยนั้นถือว่าเป็นงานออกแบบที่โมเดิร์นมากๆ เพราะว่ายุคนั้นยังไม่มีอะไรแบบนี้เกิดขึ้น จนตอนนี้มันไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เคยมีงานที่นำเสนอให้ลูกค้าใช้ USM เป็นตู้เสื้อผ้า แทนที่เราจะใช้มันเก็บหนังสือในห้องทำงาน เขาอยากจะมีเซ็ตของตู้เสื้อผ้าบวกกับตู้หนังสือ ก็ลองเสนอไปว่าเราใช้เป็นเซ็ตเดียวกันไปเลย มันก็ประสบความสำเร็จ […]

Posted on

H-INTERVIEW: Designing your life during COVID-19 – ภฤศธร สกุลไทย

“ทำงานหนักขึ้นประมาณ 2 เท่าจากเวลาที่ใช้ไป นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ข้อดีก็คือประหยัดเวลาเดินทาง ทีนี้วิธีจัดการของเราก็คือ เราแบ่งวันในการเข้าออฟฟิศโดยแบ่งทีมเข้ามาทีละโปรเจ็กต์เพื่อลดความหนาแน่นส่วนเวลาที่เหลือ ต่างคนต่างแยกกันไปทำงาน” “ตอนนั้นด้วยความปัจจุบันทันด่วนของเหตุการณ์ สเปซของบ้านเริ่มไม่พอ ผมก็ปรับพื้นที่ครัวกับโต๊ะทานข้าวแยกเป็น 2 work station ครัวกลายเป็นสตูดิโอออฟฟิศของภรรยา โต๊ะทานข้าวกลายเป็นสเตชั่นทำงานของผม (หัวเราะ) ปัญหาคือ เสียงมันตีกัน เพราะเราต้อง call conference เนื่องจากผมใช้บ้านเป็น presentation station กับทีมทำงานและลูกค้าที่ต่างประเทศด้วย ก็เลยใช้วิธีแก้ไขเรื่องอะคูสติกง่ายๆ ด้วยต้นไม้เพื่อให้ได้พื้นที่สีเขียวและลดเสียงก้อง ออฟฟิศผมมีประมาณ 200 คน 6 สตูดิโอ ผมรับผิดชอบ 30 คน ด้วยธรรมชาติของงานออกแบบมันขาดกระบวนการ brainstorm ไม่ได้ Zoom ทำให้ใช้เวลาเยอะขึ้น มันทำให้เราต้องทำงานหนักขึ้นประมาณ 2 เท่าจากเวลาที่ใช้ไป นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ข้อดีก็คือประหยัดเวลาเดินทาง ทีนี้วิธีจัดการของเราก็คือ เราแบ่งวันในการเข้าออฟฟิศ โดยแบ่งทีมเข้ามาทีละโปรเจ็กต์เพื่อลดความหนาแน่น ส่วนเวลาที่เหลือ ต่างคนต่างแยกกันไปทำงาน ในหลายบริษัทที่เราออกแบบให้ก็เริ่มเปลี่ยน พนักงานจะแบ่งครึ่งๆ คือส่วนที่ต้องนั่งโต๊ะกับส่วนที่ไม่ต้องนั่งโต๊ะเลย ขนาดของออฟฟิศก็เล็กลง […]

Posted on

H-INTERVIEW: Designing your life during COVID-19 – สมชาย จงแสง

“การมี green area ที่เป็นพืชผักที่เรากินได้ ผมว่ามันไม่ใช่แค่สวยงามนะ มันตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิต ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องใหม่สำหรับผม” “ถามว่าโควิด-19 ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงกับผมไหม ก็ไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ เพราะออฟฟิศของผมเป็นโฮมออฟฟิศ ชั้นล่างเป็นออฟฟิศ แล้วก็มีบ้านข้างบน เรื่องการเดินทางสำหรับผมก็เลยไม่เป็นประเด็น เดินลงจากบ้านมาก็ทำงานได้เลย แต่สำหรับสตาฟฟ์มีผล เพราะว่าแน่ๆ คือเขามาทำงานไม่ได้ ก็ต้องมีการจัดเวลา ใครจะมาไม่มา ช่วงที่ซีเรียสมากๆ ก็คือหยุดเลย แต่การทำงานของเรามันต้องเห็นแบบ เพราะฉะนั้นก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องจัดคิวกันเข้ามาที่ออฟฟิศบ้าง เป็นการปรับตัวบ้างตามสถานการณ์มากกว่า แต่เรื่องที่มีผลแน่ๆ คือการออกไปไซต์ ช่วงโควิด-19 นี่ก็ต้องตัดไปเลย จากโควิด-19 ลูกค้าไม่ได้เปลี่ยนอะไรนะครับ ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของสังคมมากกว่าที่เปลี่ยน แต่อันนึงที่ผมว่าทุกคนเริ่มต้องการก็คือธรรมชาติ คนเริ่มเห็นความสำคัญของธรรมชาติมากขึ้น เผอิญเราทำคอนโดฯ ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็มีความต้องการพื้นที่ที่หายใจได้ อยากออกไปสัมผัสอากาศธรรมชาติบ้าง เผอิญที่ผมอยู่มันมีดาดฟ้า เรามีพื้นที่ที่เป็น green area อยู่แล้ว แต่ก็ไม่เคยคิดปลูกผัก พอดีว่าผมได้งานที่อยุธยาเป็นฟาร์มผักออร์แกนิก มันเป็นจังหวะดีที่เราได้เรียนรู้เรื่องนี้ ช่วงนั้นเราต้องทำอาหาร ของสดหายาก ผมใช้วิธีเอากระบะผักมาจากที่ฟาร์ม เอามาทั้งกระบะเลยนะครับ ตัดใช้ทำกับข้าว พอมันหมดสภาพเราก็ขับรถเอาไปคืนเขาแล้วก็เปลี่ยนกระบะใหม่กลับมา จากแต่ก่อนที่ต้องซื้อของเยอะ ต้องหาวิธีเก็บ ผมเจอวิธีนี้ […]