Posted on

“วังและวัด” ทรงพื้นเมืองล้านนา

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของอาคารพื้นเมืองล้านนา เช่น รูปทรงอาคาร หลังคา ระบบโครงสร้าง ผนัง ช่องเปิด บันได และส่วนประกอบอื่นๆ พัฒนาสืบทอดกันมาเป็นเอกลักษณ์ตามความเชื่อและวิถีชีวิตในท้องถิ่น อาคารชั้นสูง เช่น พระราชวัง หอคำ (คุ้มหลวง) และอาคารสำคัญทางศาสนา เช่น วิหาร อุโบสถ มีลักษณะคล้ายกันขององค์ประกอบโครงสร้างที่สัมพันธ์กับผังพื้น คือ ระบบเสาและโครงหลังคา ผังอาคารมีแนวแกนเดียวตามยาว โดยมีด้านหน้า – หลังอยู่ในด้านสกัด รูปทรงอาคารและระบบเสาของอาคารพื้นเมืองล้านนา มีการยกเก็จเพิ่มมุมเสาด้านข้าง ด้วยการใช้เสาคู่ในแนวริมนอก บริเวณที่มีการเพิ่มมุมให้มีรูปทรงป่องออกช่วงกลางอาคารคล้ายลำเรือ โดยการใช้เสาคู่เพื่อเพิ่มระยะช่วงเสาให้กว้างขึ้น เสาแนวริมนอก ๒ ข้าง ที่ต้องมีการเพิ่มมุม มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วน “เสาหลวง” ๒ แนวตามยาว มีหน้าตัดกลมหรือแปดเหลี่ยม หลังคาเป็นทรงจั่ว มี “ไขรา” (ชายคากันสาด) ซ้อนใต้ระนาบหลังคาจั่วทั้งสองข้าง ๑ – ๒ ชั้น ตามความกว้างของอาคาร โดยการเพิ่มแนวเสาตามยาวออกไป และมีการซ้อนชั้นลดหลั่นระดับของหลังคาจั่ว – ไขราที่สอดคล้องกับแนวยกเก็จของระบบเสาด้วย […]